当前位置:首页 > 全部子站 > 外语类 > 泰语

细说泰语方言的区别 5

来源:长理培训发布时间:2017-07-04 09:48:35

 ก. จำนวนหน่วยเสียงชนิดต่าง ๆ

ในภาษาถิ่นต่าง ๆ อาจจะมีจำนวนหน่วยเสียงไม่เท่ากัน

ข. ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงชนิดต่าง ๆ อาจแบ่งออกเป็นเรื่องต่าง ๆ เช่น

(๑) ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงพยัญชนะต้นกับหน่วยเสียงวรรณยุกต์

ในภาษาสงขลา เมื่อพิจารณาดูความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงพยัญชนะต้นกับหน่วยเสียงวรรณยุกต์แล้ว อาจจะแบ่งหน่วยเสียงพยัญชนะต้นออกได้เป็น ๒ กลุ่ม๓

กลุ่มแรก มี ๘ หน่วยเสีย เช่น /k-/ ในระบบการเขียนของไทยแทนด้วยอักษร ก-

ทั้งในคำเป็นและคำตาย หน่วยเสียงพยัญชนะกลุ่มนี้จะผันวรรณยุกต์ได้เพียง ๒ หน่วยเสียง คือ วรรณยุกต์ ๓ และ ๔

ตัวอย่างคำเป็น เช่น ในคำว่า เกา, เก่า (วรรณยุกต์ ๓), เก้า (วรรณยุกต์ ๔)

ตัวอย่างคำตาย เช่น ในคำว่า กัด (วรรณยุกต์ ๓), กาด (วรรณยุกต์ ๔)

กลุ่มที่ ๒ มี ๑๔ หน่วยเสียง เช่น /kh-/ ในระบบการเขียนของไทยแทนด้วยอักษร ข- หรือ ค-

ในคำเป็น หน่วยเสียงพยัญชนะกลุ่มนี้จะผันวรรณยุกต์ได้ ๕ หน่วยเสียง คือ วรรณยุกต์ ๑, ๒, ๕, ๖ และ ๗ ตัวอย่างเช่น ในคำว่า ขา, ข่า (วรรณยุกต์ ๑), ข้า (วรรณยุกต์ ๒), คา (วรรณยุกต์ ๕), ค่า (วรรณยุกต์ ๖), และ ค้า (วรรณยุกต์ ๗)

ในคำตาย หน่วยเสียงพยัญชนะกลุ่มนี้จะผันวรรณยุกต์ได้ ๔ หน่วยเสียง คือวรรณยุกต์ ๑,๒,๖ และ ๗ ตัวอย่างเช่น ในคำว่า ขัด (วรรณยุกต์ที่ ๑), ขาด (วรรณยุกต์ ๒), คัด (วรรณยุกต์ ๗) และ คาด (วรรณยุกต์ ๖)

จะสังเกตได้ว่า ในภาษาสงขลาเนื่องจากหน่วยเสียงพยัญชนะต้นกลุ่มแรกกับกลุ่มที่ ๒ ผันวรรณยุกต์ได้จำนวนไม่เท่ากัน และผันวรรณยุกต์ได้ไม่ซ้ำกันเลย เราจึงอาจจะแบ่งหน่วยเสียงพยัญชนะต้นออกได้เป็น ๒ กลุ่ม

เมื่อเทียบกับภาษากรุงเทพฯ แล้วจะเห็นว่าลักษณะต่างกัน เนื่องจากหน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วยในคำเป็นจะผันวรรณยุกต์ได้ ๕ หน่วยเสียงเท่ากันหมด เช่น

หน่วยเสียง /k-/ ในคำ กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า

หน่วยเสียง /kh-/ ในคำ คา ข่า ข้า, ค่า ค้า ขา

ในคำตาย ในภาษากรุงเทพฯ หน่วยเสียงพยัญชนะทุกหน่วย จะผันเป็นวรรณยุกต์เอกได้ เช่น

/k-/ ในคำว่า กัด, กาด /kh-/ ในคำว่า ขัด, ขาด

มีหน่วยเสียงพยัญชนะบางหน่วย เช่น /kh-/ ซึ่งอาจจะผันเป็นวรรณยุกต์ ตรี และ โท ด้วยก็ได้เช่นในคำว่า คัด (วรรณยุกต์ตรี), คาด (วรรณยุกต์โท) ด้วยเหตุนี้ ในภาษากรุงเทพฯ เราจึงไม่สามารถแบ่งแยกหน่วยเสียงพยัญชนะออกเป็นกลุ่มได้ต้องรวมกันไว้เป็นพวกเดียวกัน

(๒) ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงสระสั้น/ยาว หน่วยเสียงพยัญชนะท้าย และหน่วยเสียงวรรณยุกต์

จากตัวอย่างข้างบนนี้จะเป็นว่า ในภาษาสงขลา โดยเฉพาะในคำตาย เมื่อมีหน่วยเสียงสระสั้นอาจจะผันวรรณยุกต์ต่างกับเมื่อมีหน่วยเสียงสระยาวเสมอ แต่ในภาษากรุงเทพฯ เมื่อมีหน่วยเสียงสระสั้นอาจจะผันวรรณยุกต์ต่างกับเมื่อมีหน่วยเสียงสระยาว เช่น คัด (วรรณยุกต์ตรี) คาด (วรรณยุกต์โท) หรืออาจจะผันวรรณยุกต์เหมือนกันก็ได้ เช่น กัด, กาด, ขัด, ขาด (วรรณยุกต์เอก)

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของความแตกต่างระหว่างภาษาถิ่นต่าง ๆ ในเรื่องระบบเสียงซึ่งอธิบายโดยสังเขป

责编:李亚林

发表评论(共0条评论)
请自觉遵守互联网相关政策法规,评论内容只代表网友观点,发表审核后显示!

国家电网校园招聘考试直播课程通关班

  • 讲师:刘萍萍 / 谢楠
  • 课时:160h
  • 价格 4580

特色双名师解密新课程高频考点,送国家电网教材讲义,助力一次通关

配套通关班送国网在线题库一套

课程专业名称
讲师
课时
查看课程

国家电网招聘考试录播视频课程

  • 讲师:崔莹莹 / 刘萍萍
  • 课时:180h
  • 价格 3580

特色解密新课程高频考点,免费学习,助力一次通关

配套全套国网视频课程免费学习

课程专业名称
讲师
课时
查看课程
在线题库
面授课程更多>>
图书商城更多>>
在线报名
  • 报考专业:
    *(必填)
  • 姓名:
    *(必填)
  • 手机号码:
    *(必填)
返回顶部